วันน้ำโลก 2560 ตอนที่ 2 งานวิจัยทรัพยากรน้ำตามรอยพระราชา

สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค8 และสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค10 กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกันเสนอผลงานที่น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในกระบวนการวิจัยภายใต้แนวคิด "งานวิจัยตามรอยพระราชา" ในสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลกปี 2560 ที่กรมทรัพยากรน้ำจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2560 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ด้วยเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าและการออกแบบอย่างสวยงามจึงมีเสียงเรียกร้องให้นำโปสเตอร์ผลงานวิจัยดังกล่าว มาเสนอไว้ใน Blog วันน้ำโลก 2560 ตอนที่ 2 งานวิจัยทรัพยากรน้ำตามรอยพระราชา โดยแบ่งประเด็นวิจัยเป็น 3 หัวข้อหลัก คือ
1. ปรับตัว รับมือ Climate change ด้วยการจัดการน้ำตามรอยพ่อ
2. เสริมสร้างขีดความสามารถในจัดการภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับน้ำด้วยวิถีพอเพียง
3. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา หัวใจของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและคุณภาพน้ำชุมชน

    




ประเด็นวิจัยข้างต้น มีโครงการวิจัยด้านทรัพยากรน้ำ ที่น่าสนใจดังนี้


กิจกรรมวิจัยโครงการพัฒนาโมเดลการสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนเพื่อรับมือความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำที่เกิดจากความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cr. สุกาญดา เชื้อสุวรรณ

กิจกรรมวิจัยโครงการพัฒนาโมเดลการสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนเพื่อรับมือความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำที่เกิดจากความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cr. สุกาญดา เชื้อสุวรรณ

กิจกรรมวิจัยโครงการพัฒนาโมเดลการสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนเพื่อรับมือความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำที่เกิดจากความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cr. สุกาญดา เชื้อสุวรรณ

กิจกรรมวิจัยโครงการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อทรัพยากรน้ำชุมชน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล Cr.นิรัตน์ ภูทัดหมาก
กิจกรรมวิจัยโครงการพัฒนาการรับรู้ภัยพิบัติน้ำท่วม-ดินถล่มและพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมของชุมชน เพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ: กรณีศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม-ดินถล่มในภาคใต้ Cr. ศักดิ์ชัย ตันติวิวัฒน์

ครงการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลและรูปแบบของความเข้มแข็งของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช Cr. ณัฏฐ์พิชญา อินทรทองแก้ว

โครงการวิจัยรูปแบบการรับมืออุทกภัยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านคลองหวะเทศบาลเมืองคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Cr. นราพงษ์ บุญช่วย

กิจกรรมวิจัยโครงการประเมินและตรวจติดตามคุณภาพน้ำผิวดินของแหล่งน้ำชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรณีศึกษาพื้นที่ประสบอุทกภัยซ้ำซากในลุ่มน้ำน่าน Cr. ไพลิน บุญนะ


วันน้ำโลก พ.ศ. 2560 ของกรมทรัพยากรน้ำ @ Impact Arena, Thailand

 วันน้ำโลก พ.ศ. 2560 ของกรมทรัพยากรน้ำ @ Impact Arena, Thailand


เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560 กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดงานสัปดาห์อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแห่งชาติและวันน้ำโลก ภายใต้แนวคิด ศาสตร์พระราชากับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” เพื่อรณรงค์ให้คนไทยร่วมตามรอยและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบิดาแห่งการจัดการน้ำ "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" และช่วยกันอนุรักษ์ พัฒนาแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนเพื่ออนาคต กิจกรรมในงานวันน้ำโลกปีนี้ มีทั้งการบรรยายพิเศษ การเสวนา และการจัดแสดงนิทรรศการที่มีชีวิตและนิทรรศการยุทธศาสตร์น้ำทั้ง 6 ด้าน





เหล่านักวิจัยรุ่นใหม่ของกรมทรัพยากรน้ำ ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเข้าร่วมจัดนิทรรศการในหัวข้อ "งานวิจัยตามรอยพระราชา ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0" โดยได้นำเสนอผลงานวิจัยด้านการจัดการน้ำที่น้อมนำศาสตร์พระราชา มาเป็นหัวใจและหลักชัยในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังได้นำเสนอสื่อความรู้ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงแบบต่าง ๆ มาช่วยสร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจ








พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยดร.วิจารณ์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเยี่ยมชม และให้กำลังใจผู้จัดนิทรรศการ






ผู้บริหารกรมทรัพยากรน้ำทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้ทยอยเข้าเยี่ยมชมนิทรรศกา

ท่านวิวัฒน์ โสเจยยะ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ให้เกียรติเยี่ยมชม และให้กำลังใจผู้จัดนิทรรศการ


ท่านสมนึก สุขช่วย  รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ให้เกียรติเยี่ยมชม และให้กำลังใจผู้จัดนิทรรศการ








สีสันของนิทรรศการ เริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ใช้ประกอบสื่อความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ ในรูปแบบของแผ่นพับ












ต่อมาคือ เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ใช้ประกอบสื่อความรู้สำหรับสร้างความพร้อมของประชาชน เด็กและเยาวชน ในการรับมือพิบัติภัยน้ำป่าไหลหลากดินถล่ม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดดินโคลนถล่ม การทำงานของระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา และการปฏิบัติตนเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยจากสถานีเตือนภัยล่วงหน้าฯ








ปิดท้ายด้วยเทคโนโลยี Hologram  เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโลกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว โดยเทคโนโลยี Hologram ช่วยสร้างภาพสามมิติและสองมิติ ได้อย่างสวยงาม ประกอบกับคำบรรยายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญ ซึ่งรวบรวมจากเอกสารและสื่อจากหน่วยงานวิชาการระดับนานาชาติผ่านการแปล คัดสรรเนื้อหาให้กระชับ และถ่ายทอดเป็นเรื่องเล่าที่เข้าใจได้ง่าย และชวนติดตาม





นอกจากนี้ ยังจัดแสดงสแตนดี้เสริมสร้างภาพลักษณ์กรมทรัพยากรน้ำ สแตนดี้รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการลดภาวะโลกร้อน และสแตนดี้แมสคอทของระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่ม ในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา ของกรมทรัพยากรน้ำ สแตนดี้เหล่านี้ได้ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) สร้างสีสันและความน่ารัก ซึ่งได้รับความสนใจจากแขกผู้มีเกียรติจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้บริหารของกรมทรัพยากรน้ำ ที่ได้ให้เกียรติถ่ายรูปคู่กับสแตนดี้ดังกล่าว


ท่านสมนึก สุขช่วย รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ให้เกียรติถ่ายรูปคู่กับสแตนดี้






ท่านผอ.อธิวัฒน์ สุคนธประดิษฐ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและประสานมวลชน และผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและประสานมวลชน ให้เกียรติถ่ายรูปคู่กับสแตนดี้ 



ท่านผอ.ปัญญา วรเพชรายุทธ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ให้เกียรติถ่ายรูปคู่กับสแตนดี้

คุณวาสนา ร้อยอำแพง นักอุทกวิทยาชำนาญการพิเศษ ให้เกียรติถ่ายรูปคู่กับสแตนดี้
นอกจากนี้ ยังมีพี่ๆน้องๆ ชาวกรมทรัพยากรน้ำ พี่ๆ คณะกรรมการลุ่มน้ำ ถ่ายรูปกับสแตนดี้
อย่างสนุกสนาน เพื่อเก็บเป็นที่ระลึกในงานนิทรรศการที่จัดขึ้นครั้งนี้